แหล่งท่องเที่ยว วัดเขาปินะ


อำเภอห้วยยอดมีสถานที่ท่องเที่ยวอยู่หลายแห่ง เช่นทะเลสองห้อง ตำบลบางดี ถ้ำพระตำบลหนองบัว ถ้ำพระพุทธโกษีย์
ตำบลในเตา ถ้ำเขาปินะ ตำบลนาวง 


และสถานที่ท่องเที่ยวน้องใหม่ล่าสุดและเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั่วไป คือ ถ้ำเลเขากอบ ตำบลเขากอบ 

สำหระบถ้ำเขาปินะแห่งนี้นั้น นอกจากเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีทัศนียภาพที่งดงามแล้วยังเป็นแหล่งศึกษาทางโบราณคดีอีกด้วย

เขาปินะเป็นภูเขาที่มีภูมิทัศน์งดงาม ภายในเขามีถ้ำหลายถ้ำที่มีลักษณะแปลกกว่าที่อื่น เพราะถ้ำโดยทั่วไปจะมีเฉพาะทางเข้าข้างในจะมืดสนิท 

แต่ถ้ำเขาปินะภายในเป็นซอกเป็นโพรงเดินได้ทะลุติดต่อถึงกัน และทะลุออกหน้าผาชันหลายช่อง คล้ายช่องหน้าต่าง ประตูหอคอย บางช่องสูงจากระดับพื้นดินเชิงเขากว่า ๔๐ เมตร ทุกช่องมีลมพัดโกรกเย็นสบาย ไม่ร้อนอบอ้าวเหมือนถ้ำที่ไม่มีช่องลม  

ถ้ำพระ

     ถ้ำพระขึ้นจากพื้นล่างตามบันไดหินประมาณ ๑๖ ขั้น ชั้นนี้เป็นลานปูน มีโต๊ะและม้านั่งสำหรับพักผ่อน ขึ้นบันไดทางซ้ายมือไปตามซอกหลืบเขาแคบๆ สองสามครั้งถึงถ้ำพระ พื้นลาดปูนเรียบ 

ลักษณะถ้ำ

เป็นโพรงมาจากหน้าผา มีความกว้างและลึก จุคนได้ประมาณ ๑๐ - ๑๕ คน หน้าผาสูงจากพื้นล่างประมาณ ๑๕ เมตร  

ด้านในมีศาลาเล็กประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่ง  องค์ องค์กลางใหญ่ที่สุด ชาวบ้านนับถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์  

พระพุทธรูปเหล่านี้มีประวัติว่า ครั้งหนึ่งสมัยที่มีการสร้างพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช พวกแขกไทรบุรีมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาจึงได้เดินทางโดยเรือมาถึงตำบลนี้ก็ได้ทราบข่าวว่า พระบรมธาตุได้สร้างเสร็จแล้ว จึงหยุดพักแรมที่บริเวณเขาปินะนี้ และได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างพระพุทธรูปขึ้น  องค์ พร้อมทั้งบรรจุเงินทองไว้ภายในเพื่อเป็นพุทธบูชา
         
           จากการบอกเล่าของนายเดชคีรีรักษ์ ซึ่งได้ทราบมาจากนายคง จันทร์คีรี รักษ์ ผู้เป็นพ่อ และ ขุนนัยนาปะยา ผู้เป็นอา ว่า  

พระพุทธรูปเหล่านี้เดิมมีเพียงองค์เดียว คือพระพุทธรูปองค์ใหญ่หรือองค์กลาง ทางด้านใต้มีซากพระพุทธรูปอยู่  องค์ และทางด้านเหนืออีก  องค์ ยังคงแต่ฐานอาสน์พระไม่มีองค์อยู่  

ครั้นถึงสมัยขุนไกร คนใช้คนหนึ่งของพระอุทัยราชธานี ได้ทำการปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปทั้ง  องค์ ที่หักพังอยู่ให้มีสภาสมบูรณ์ และได้ สร้างเพิ่มอีก  องค์ รวมเป็น  องค์
            
           ในถ้ำพระทางผนังอีกด้านหนึ่ง มีรูปปั้นคนขนาดใหญ่
กว่าคนธรรมดา ลักษณะเป็นคนแก่ร่างสูงใหญ่ ศีรษะล้าน นุ่งผ้าพื้นธรรมดา ถือไม้ตะบองยาว เกือบ  เมตร ไม่สวมเสื้อมีผ้าห้อยบ่า ผิวเนื้อดำแดง นั่งห้อยเท้าอยู่บน แท่นหิน 

ท่านคือ"ปู้จ้าวเขาปินะ" รูปปั้นนี้ ปั้นขึ้นตามลักษณะในนิมิตของพระปลัดนิมิตร สุมงฺคะโล พระผู้พัฒนาถ้ำเขาปินะแห่งนี้ และตั้งชื่อว่า "ปู่จ้าวเขาปินะอัชฌาวงศ์"

ถ้ำเจดีย์

     ถ้ำเจดีย์นี้อยู่จากถ้ำพระขึ้นไปตามบันไดปูน วกหักสองเลี้ยวผ่านซอกเขาแคบก็ถึงถ้ำ แต่ไม่น่าจะเรียกว่าถ้ำ เพราะมีลักษณะเป็นเว้าเวิ้งเข้ามา ในหุบผา ลึกพอสมควร 

ลักษณะถ้ำ

     มีพื้นที่ประมาณ ๑๕ ตารางเมตร เจดีย์ภายในถ้ำมีลักษณะคล้ายบุษบก เป็นของเก่า ที่ฐานเจดีย์มีคำบันทึกว่า บรรจุอัฏฐิขุนไกร ต้นตระกูล กตัญญู  

อีกด้านหนึ่งมีรูปปั้นเท่าคนจริง เป็นรูปขุนนัยนาปะยา ยืนแต่งตัว เต็มยศ ติดเหรียญตรา นุ่งผ้าม่วงแบบข้าราชการในสมัยรัชกาลที่๖ บนเพดานมีหินย้อยเป็นงวงลงมา ทำให้เป็นช่องหน้าผา ถ้ำนี้ไม่ค่อยมีอะไรน่าชมนัก

ถ้ำล่องลม

     ถ้ำล่องลม ขึ้นบันไดต่อจากถ้ำเจดีย์ไปอีก  ตอน หักเลี้ยวเข้าช่องเขามืด ทางด้านขวามือมีช่องลมคล้ายอุโมงค์ กว้างประมาณ  เมตร ยาว ๑๐ เมตร ทะลุออกหน้าผาชันสูงจากพื้นดินเชิงเขาประมาณ ๑๕ เมตรเศษ ลมพัดเย็นสบาย ชมทิวทัศน์ เบื้องล่างได้ชัดเจน ถอยห่างจากโพรงหินตรงไปตามซอกมืด 

ลักษณะถ้ำ

     พื้นเป็นดินเรียบลงถึงห้องโถงกว้างใหญ่ หลังคาเพดานถ้ำโค้งคล้ายกูบบนหลังช้าง ชาวบ้านจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า"ถ้ำโกบ" ตามผนังถ้ำมีหินย้อย และช่องถ้ำเล็ก ๆ มืดอีกหลายช่อง มองเห็นได้จากแสงที่สาดส่อง  

ลานนี้จุคนได้จำนวนมาก เวลามีงานวัดบางครั้งก็มีการนำภาพยนตร์มาฉายที่ถ้ำนี้ในตอนกลางวัน ผนังด้านหนึ่งมีหินเป็นก้อน ๆ เกือบกลมมน เวลาตีจะมีเสียงดังตุมตุม ก้องกังวาลคล้ายเสียงกลองเพล  

ภายในหินคงจะมีช่องกลวงเวลาตีจึงมีเสียงดัง ภายในถ้ำตรงนี้มีลมพัดโกรกพอบรรเทาความ อบอ้าวได้ เพราะมีช่องโพรงออกข้างนอกรับแสงสว่างและลมเข้ามาได้

ถ้ำจำปา

     ถ้ำจำปา อยู่ต่อจากถ้ำล่องลมขึ้นไปตามทางดินที่สับเป็นขั้นๆ มีน้ำชื้อแฉะเล็กน้อย  



ลักษณะถ้ำ

     มีหินย้อยลงมาจรดพื้นคล้ายเสาท้องพระโรงหลายแห่ง  ทำให้เกิดเป็นห้องหับใหญ่น้อย  

ตรงเพดานมีหินย้อยเป็นพวงใหญ่คล้ายโคมระย้า บางแห่งงอกขึ้นจากพื้นจดกันกับหินที่ย้อยลงมาจากเพดานถ้ำ มีน้ำไหลลงมาบนพื้นจนกลายเป็นสายน้ำเล็ก ๆ หลายสายไหลลงสู่แอ่งน้ำใหญ่น้อย  

หินย้อยบางแห่งย้อยลงมาเป็นเกลียวคล้ายเส้นเชือกหรือรากไม้ ด้านใต้มีแอ่งน้ำคอยรับน้ำหยดอยู่ตลอดเวลา ภายในอากาศโปร่ง เย็นสบาย

เมื่อพ.ศ. ๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ สมัยดำรงค์พระอริยยศเป็นพระบรมโอรสาธิราช 

และเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑ ได้เสด็จประพาสและประทับเสวยพระกระยาหารณ ถ้ำแห่งนี้ ชาวบ้านจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ถ้ำเสวย" อีกชื่อหนึ่ง

ถ้ำหอยโข่ง
     ถ้ำหอยโข่ง ต่อจากถ้ำจำปาขึ้นไปตามทางดิน ตรงปากถ้ำมีพระปรมาภิไธยย่อ "ป.ป.ร." ๑๐/๑๐/๗๑ อยู่ที่ผนังถ้ำ 

ลักษณะถ้ำ

     ทางเข้ามีหินย้อยขนาดใหญ่ลงจรดพื้น มีเปลืกหอยโข่งใหญ่น้อยเกลื่อนตามพื้นถ้ำ และติดอยู่กับผนังหิน 

สัณนัษฐานว่าพวกแขกโบราณที่เรือแตกขึ้นมาอาศัยถ้ำนี้ หาอาหารเท่าที่จะหาได้เพื่อยังชีพ 

โดยเฉพาะพวกปลาและหอย เศษอาหารอย่างย่อยปุเปื่อยไปตามกาลเวลา แต่เปลือกหอยยังคงเป็นประจักษ์พยานได้เป็นอย่างดี 
เดิมเขาลูกนี้คงจะอยู่ใกล้ทะเลมาก 

ทั้งยังมีหลักฐานยืนยันว่าเคยขุดพบสมอเรือโบราณ ในทุ่งบริเวณเขาลูกนี้ หรืออีกนัยหนึ่งความกว้างของลำน้ำในสมัยโบราณคงแผ่ขยายมาจรดตีนเขา และมีธารลำน้ำไหลลงสูงแม่น้ำ 

ภายในถ้ำมีแอ่งน้ำพอที่พวกหอยอาศัยอยู่ได้ ซากเปลือกหอยจึงมีหลงเหลือให้เห็นในชั้นของหินตามพื้นและผนังถ้ำทั่วไป

     อีกด้านหนึ่งจากถ้ำจำปา มาทางทิศเหนือ เป็นพื้นดินมีน้ำแฉะไหลริน ลื่นมาก เป็นช่องลึกเข้าไปข้างในมืด เมื่อฉายไฟดูรอบ ๆ เต็มไปด้วยหินย้อยใหญ่น้อย มีน้ำหยดต้องแสงไฟระยิบระยับ 

มีหินย้อยตามเพดานหลายแห่งมีลักษณะคล้ายกระเช้าดอกไม้ ด้านหนึ่งของถ้ำมีต้นมะขามใหญ่ ถ้ำนี้จึงได้ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า "ถ้ำมะขาม"


ถ้ำกระดูก

      ถ้ำกระดูก ถ้ำนี้ไม่ค่อยมีผู้ไปชมนัก อยู่ทางซ้ายมือของถ้ำพระ 
เดินอ้อมมุขเขาไปประมาณ ๔๐ เมตร 

ลักษณะถ้ำ

     เป็นถ้ำเล็กมีแสงสลัว ๆ เมื่อนึกถึงชื่อถ้ำแล้วทำให้เกิดอุปาทานว่า ที่นี่มีบรรยากาศเยือกเย็นวังเวง เพราะภายในถ้ำมีกองกระดูกต่าง ๆ ของคนโบราณอยู่ตามพื้น และพิงผนังไว้ก็มี 

ภายในถ้ำมีหม้อดินใส่กระดูกหลายใบ ตั้งเรียงรายใกล้ ๆ กัน หัวกะโหลก กระดูกแขนขาชั้นใหญ่ ๆ เหล่านี้เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า เป็นกระดูกคนโบราณแน่ 

ทั้งนี้เพราะแต่ละชิ้นเมื่อเปรียบเทียบกับของคนเราปัจจุบันแล้ว กระดูกเหล่านั้นใหญ่กว่ามาก ภายในถ้ำมีรูปปั้นพระฤาษี

ถ้ำน้ำ

     ถ้ำน้ำ ต่อจากถ้ำกระดูกไปเล็กน้อย เป็นถ้ำเล็กภายในถ้ำคับแคบเกะกะไปดวยหินงอกหินย้อย ดูแปลกตาไปอีกแบบหนึ่ง  

ลักษณะถ้ำ

    ดูคล้ายห้องเล็กห้องใหญ่ทั่วไป บางช่องคน ลอดไม่ได้ แสงสว่างมีน้อย อากาศชื้น ๆ ตามพื้นมีน้ำไหลทั่วไป  

ในระหว่างฤดูน้ำและฤดูฝน ภายในน้ำท่วมหรือแฉะตลอด ในฤดูแล้งพื้นดินจึงแห้งเหลือแต่ความชื้น  

ถ้ำนี้ไม่ค่อยมีผู้มาชม จึงเหมาะสำหรับเป็นที่อยู่ของพวกปลาและสัตว์หลายชนิด คนที่นั่นบอกว่าสัตว์จำพวกนี้ มีมากมายไม่เหมาะสำหรับคนไปชม

เขาปินะจากอดีตถึงปัจจุบันสู่อนาคต

     ในอดีต เขาปินะน่าจะเป็นชุมชนโบราณ อีกแห่งหนึ่งของฝั่งทะเลอันดามันเพราะที่ราบลุ่มแม่น้ำตรังที่มีความเป็นมาน่าศึกษา  

อีกทั้งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสวยงาม  แม้แต่เจ้านายเชื้อพระวงศ์และพระมหากษัตริย์ยังชื่นชมในความสวยงามตามธรรมชาติ 

     ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาไปโดยลำดับ ซึ่งอยู่ในเขตรับผิดชอบ ของเทศบาลตำบลนาวง  

แต่การพัฒนาเป็นดาบสองคมคือทำให้บริเวณมีความสะดวกสบายขึ้น 

แต่การพัฒนาโดยรู้เท่าไม่ถึงกาลก็จะทำให้ทำลายหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติไปอย่างน่าเสียดาย


ที่มา:

ภาพประกอบ: เว็ปไซต์ www.google map, www.trangzone.com

ประวัติ:เว็ปไซต์ www.watnawong.ac.th
นายแก้ว, นามแฝง เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ "จดหมายเหตุ" กรุงเทพฯ 

โรงพิมพ์มหามกุฏวิทยาลัย, ๒๕๐๒
จดหมาย เหตุ : หนังสือจดหมายระยะทางไปตรวจราชการแหลมมลายู ร.ศ. ๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๕) ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
จุลสาร พิมพ์เพื่อเผยแพร่สนับสนุนการท่องเที่ยว เชิงสารคดี ของอำเภอ ห้วยยอด จังหวัด ตรัง